วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

"ฟุตบอลประเพณี"

ประสบการณ์ที่ควรค่าแก่การจดจำของคนจังหวัดสุรินทร์
และบุคลากรทั้งสองสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
และมหาวิทยาสลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตสุรินทร์

สถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น

ซึ่งในประเทศไทยมีไม่กี่จังหวัดที่มีกิจกรรมที่ดีๆ อย่างนี้

ศิษย์จงภูมิใจ ที่ได้ศึกษาในสถาบันอันทรงเกียรติทั้งสองแห่ง
ที่สร้างบุคลากรที่ทรงคุณค่าออกไปรับใช้สังคมมากมาย







มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

สถาบันการศึกษาที่สร้างโอกาสและอนาคตให้กับคนจังหวัดสุรินทร์
และจังหวัดใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ตั้งแต่เป็นวิทยาลัยครู
สถาบันราชภัฏสุรินทร์ จนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

เราได้เห็นพลังความสามัคคีของบุคลากร ของศิษย์
ที่มุ่งมั่นสร้างพลังแห่งความเป็นราชภัฏสุรินทร์ให้สังคมประจักษ์

ในความที่ผมเรียนจบด้านสื่อสารวมวลชล เคยทำงานสื่อสารมวลชน และเป็นสื่อมวลชนสมัครเล่น
และเป็นคนสุรินทร์





วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์(Surin National Museum)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์(Surin National Museum)


        ตั้งอยู่ที่ถนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ตำบลเฉนียง ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดเเสดงเป็น 4 ส่วน คือ อาคารที่ 1 เป็นโถงทางเข้าเเละทางเดินอาคารที่ 2 เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วยห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3 เป็นอาคารจัดเเสดงเเละสำนักงาน ประกอบด้วยห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์เเละสงวนรักษา

ขอขอบคุณภาพถ่ายจาก http://www.thetrippacker.com

        Located at Surin-Prasat rode,Moo 13,Tambon Chaniang.There are 4 areas inside.Buiding 1 is the entrance and the hallway.Buildding 2 is an education zone consisted of meeting rooms,activity rooms,reception rooms and a library.Buiding 3 is the area for permanent and temporary exhibitions as well as office spaces.Building 4 is the museum inventory i.e.antiquities inventory and conservation and restoration laboratory.

ขอขอบคุณภาพถ่ายจาก http://www.thetrippacker.com






วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปราสาทจอมพระ(Prasat Chom Phra)

ปราสาทจอมพระ(Prasat Chom Phra)


     ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดปราสาท จอมพระ เป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาผู่ป่วยในสมัยโบราณสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อด้วยหินทรายเเละศิลาเเลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นศิลปะขอมเเบบบายน สร้างประมาณ พ.ศ.1720-1780

    Prasat Chom Phra is located in Chom Phra District.it used to be a hospital during the reign of King Chaiworaman VII. With a complete sandstone and laterite structure,this place was built around 1177-1237 B.E,in Ba Yon art style and Facing to the noth.   


ขอขอบคุณภาพถ่าย
https://sites.google.com/site/kwanclaf/sthan-thi-thxng-theiyw-surin


     


ปราสาทยายเหงา(Prasat Yai Ngao)

ปราสาทยายเหงา(Prasat Yai Ngao)

     ตั้งอยู่ที่บ้านพูนชาย ตำบลซบ อำเภอสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 4 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานเเบบขอมประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งเรียงรายกันหันหน้าทิศตะวันออก ก่อด้วยอิฐบนฐานศิลาเเลง มีการเเกะสลักอิฐเป็นลวดลาย เช่น ที่กรอบหน้าบันเป็นรูปมังกร(สร้างผสมระหว่าง สิงห์ ช้าง เเละปลา) คาบนาค 5 เศียร 


        Prasat Yai Ngao is located in Ban Phunchai,Chop Sub-District,Sangkha District,about 5 Kilometers away from Sankha District. It used to be a Khmer monastery,consists of 2 stupas facing to the east and standing on the laterite bast.in addition, decoration of the stupas was fulfilled by carved bricks depicting fairy animal called "Makorn"(Mixed between lion,elephant and fish).

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง(ทอฝ้ายยกทองโบราณ)

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง(ทอฝ้ายยกทองโบราณ)


หมู่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกสบายไปตามถนนหมายเลข 3009 เป็นหมู่บ้านที่ทอผ้าไหมยกทองโบราณ ผ้าเเต่ละผืนต้องใช้เวลาในการออกเเบบลวดลาย เขียนเเบบ และเก็บตะกอนาน 2-3 เดือน ใช้เวลาในการทอนาน 1-3 เดือน ต้องใช้ช่างทอประจำกี่เเต่ละกี่ 4 คนขึ้นไป ทอได้ วันละ 5-7 เซนติเมตร ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาล ให้เป็นผ้าสำหรับตัดเย็บเป็นเสื้อให้ผู้นำประเทศต่างๆในโอกาสที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และนายบิลเกต เจ้าของธุรกิจไมโครซอฟ ใช้เป็นผ้าประดับคฤหาสน์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยเเละชาวต่างชาติเดินทางไปเยี่ยมชมการทอผ้าไหมที่บ้านท่าสว่างเป็นจำนวนมาก


Ban Tha Sawang Silk Weaving Village-ancient golden weaving Silk.

The Sawang Village is located in Tha Savang Sub-District, Muang District, about 10 kilometer from Surin municipality. The village is easily reachable by travelling along the Road No. 3009. Here is well-know in weaving "Pha Mai Yok Thong Boran" ancient golden weaving silk. Each of Sin takes up 2-3 moths in designing, drawing pattern and collecting Ta Kor (the selection of silk yarn). it takes 1-3 months to be completed and need at least 4 weavers for each loom. Each loom produces 5-7 centimeters length daily. The silk is not generally sold in the market. The silk was honorably selected from the government to produce shirts for all country leaders in the occasion that Thailand hosted the APEC forum in October 2003. at present,both Thais and foreign tourists visit the village everyday.  




ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตร (AGRO TOURISM)

ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตร (AGRO TOURISM)

     ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ(โทร. 0-4451-1393) ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 3 ถนนสายสุรินทร์-บุรีรัมย์ (226) เป็นศูนย์ราชการที่มีกิจกรรมที่จัดไว้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมการผลิตหม่อนไหมในรูปเเบบห้องสมุดธรรมชาติภายในพื้นที่ 5 ไร่ของศูนย์ฯ แห่งนี้ท่านจะได้สัมผัส และเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกหม่อนเเละเลี้ยงไหมครบวงจรเเบบพื้นบ้าน ท่านจะได้ชมการสาวไหม การย้อมเส้นไหมด้วยสีจจากธรรมชาติ การสร้างลวดลายบนผ้าไหม นอกจากนั้นยังเป็นที่รวบรวมลายผ้าทอ ทั้งผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายผ้าทอต่างๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เเละลวดลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นไทย ทั่วประเทศนับร้อยลาย 


Agro-Tourism Center
     
      Surin Plants and Production Factors Academic Service Center(Tel.0-4451-1393) is located at the 3rd Kilometer on the Surin-Burirum Road(No.226).Throughout the 5-Rai area of this place, it consists of a number of activities arranged for tourists to see the cultivating of mulberry for silkworms in form of "Natural Library".In the center,visitor will experience and learn the steps of mulberry and silkworm leaf cultivation.Moreover, visitors can enjoy a demonstration of the silk spinning,silk dyeing from natural color,and pattern designing on the silk fabric called the Mud mee silk. in addtion, this plqace also collects other silk patterns not only in Surin, but also other local Thai unque designs from different places throughout the country.

ขอขอบคุณภาพถ่ายจาก เมืองไทย.คอม








งานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ (Eel and new Jasmine Rice Festival)

งานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ (Eel and new Jasmine Rice Festival)

   อำเภอชุมพลบุรีมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบและมีลำน้ำขนาบข้าง มีความชุ่มชื้นเหมาะเเก่การดำรงอยู่เเละขยายพันธุ์ของปลาไหล หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิเสร็จเรียนร้อยเเล้วชาวอำเภอชุมพลบุรีจะจัดงาน"เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ"ในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม ของทุกปีโดยจัดขึ้นที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี


An annual festival in Chumphon Buri District. The festival will be held every third of December in front of the Chumphon Buri District office,after the harvest when eel is big enough for catching.







วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

พุทธอุทยานเขาศาลา(Khao Sala Buddha Park)

พุทธอุทยานเขาศาลา(Khao Sala Buddha Park)



ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอบัวเชดประมาณ 17 กม.ติดกับเขื่อนจรัส มีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่สมบูรณ์ มีหน้าผาสูงชันเรียกว่าผานางคอย มีอ่างเก็บน้ำเขื่อจรัสอยู่ด้านล่างเหมาะเป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันวัดเขาศาลา อตุลฐานจาโร โดยกรมศาสนาได้รับอนุมัติพื้นที่ 10,865 ไร่ จากกรมป่าไม้ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นพุทธอุทยาน




It is located in the area of Charas Sub-District,Surin Province,about 17 kilomater from Buachet District next to Charas Dam.The scenery is quite spectacular with abundant forest landscape.There is a steep cliff called Pha Nang Knoi where Charas Dam Reservoir is situated below the cliff suitable to be as another relaxing and natural study place of Surin Province.At present,Wat Khao Sala Atulathanjaro under the authority of Religion Affairs Department has approved by the Royal Forestry Department with 10,865 rai to be founded as the Buddha Park.  





จัดทำโดย

1.นางสาวอรุณรัตน์ บุญปก 
2.นายอรรถชัย จำเนียรกูล 
3.นางสาวสุธีรา มังษะชาติ 

นักศึกษาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์



วนอุทยานพนมสวาย (Phanom Sawai Forest Park)

วนอุทยานพนมสวาย (Phanom Sawai Forest Park)


ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาบัวเเละตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยๆติดต่อกัน มีเวิ้งน้ำขนาดใหญ่จากการสัมปทานระเบิดหิน ซึ่งเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามมาก มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด มียอดเขาที่สำคัญ 3 ยอด ยอดที่ 1 เรียกว่า ยอดเขาชาย(พนมเปร๊าะ)สูง 220 เมตรเป็นที่ประดิษฐ์พระพุทธสุรินทรมงคล


ยอดที่ 2 เรียกว่ายอดเขาหญิง(พนมสรัย)สูง210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม ยอดที่ 3 เรียกว่าเขาคอก(พนมกรอล) สูง 150 เมตร พุทธสมาคม จังหวัดสุรินทร์ได้สร้างศาลอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีงานบุญประเพณีขึ้นเขาสวาย


  It is located in the area of Na Bua and Sawai SubDistricts,MuangDistrict,Surin 
Provine,about 22 kilometer from Surin city.Phanom Sawai is a hill with a large water recess from the rock blasting concession which is a very beautiful scenery with adiversity of plants.The park comprises 3 major peak.The first peak called Chai Peak(Phanom Prawh),200 meter height where the Buddha image Phra Buddha Surin Mongkol is enshrined.The second peak is Ying Peak(Phanom Srai),210 meter height


where Wat Phanom Silaram is located.The third peak is Khok Peak(Phanom Krol),150 meter height where the Buddhist Society of Surin Provine has built the Atthamuk
Pavillion on top in memorial to celebrate the Rattanakosin 200 Anniversary in order to celebrate the Replica of the Buddha's Footprint and on every 1 day of the new moon in the 5 lunar month,there will be a Phanom Sawai Ascending Festival. 





























วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

หลักเมืองสุรินทร์(Surin City Pillar Shrine)

หลักเมืองสุรินทร์(Surin City Pillar Shrine)



หลักเมืองเป็นสถานที่ี่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ 2511 กรมศิลปกรได้ออกเเบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 3 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองเเละสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517

The City Pillar is an important sacred place of Surin. It is located about 500 meters to the West of the City Hall.Originally, it was only the shrine with no pillar for over hundred years. In 1968,the Fine Arts Department renovated a new 3-meter which City Pillar Shrine was carved from the Javanese Cassia Tree,established and cerebrated on March 15, 1974.





ลักษณะภูมอประเทศ(Geography)

ลักษณะภูมิประเทศ(Geography)



ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดเเละจังหวัดมหาสารคาม 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา ในพื้นที่ 4 อำเภอคือ บัวเชด สังขะ กาบเชิง เเละพนมดงรัก ความยาวตลอดเเนวชายเเดนประมาณ 90 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ 

North Border Roi Et and Maha Sara Kham
East Border Si Saked
West Border Udon Mee Chai,Cambodia (90 Km.Borderline in 4 Districts:Bua Ched,Sang Kha,Kab Cherng and Plhanom Dongrak)
West Border Buri Rum